วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ น.ส มุกดา
นามสกุล บัวบก ชื่อเล่น(น้องปอค่ะ)
เกิดวันที่ 21 เดือน ตุลาคม
ม.2 ต.ทับยายเชียง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก 65150
เบอร์โทรนักศึกษา 0869350522
อาจารย์ที่ปรึก อ.อำภา กุลธรรมโยธิน
มือถืออาจารย์ที่ปรึกษา 0814134242

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การโปรแกรมเว็บ1

แบบฝึกหัดบทที่1
แบบฝึกหัดบทที่ 1
ตอนที่ 1
          1  . อินเตอร์เน็ตเรียกกันสั้นๆว่า เน็ต คือระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด
          2.  ลักษณะของระบบอินเตอร์เน็ตจะอยู่ในลักษณะ ไคลเอนท์-เวิร์ฟเวอร์(Client-Server)
          3. ไคลเอนท์-เวิร์ฟเวอร์(Client-Server) คือ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์คือ  เครื่องแม่ข่าย หรือ  ผุ้ให้บริการกับเครื่องที่เป็น ไคลเอนท์ คือ เครื่องลูกข่าย หรือผู้ขอใช้บริการมีการติดต่อสื่อสารกันตลอดเวลา
          4.ชื่อที่อยุ่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อินเตอร์เน็ต  จะเรียกกันว่า ไอพีแอดเดรส เป็นตัวเลขล้วนๆ 4 ชุด แต่ละชุดมีค่าระหว่าง 0-255  คั่นด้วยจุด เช่น 202.146.15.9
          5.ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์  ได้แก่  1. ค้นหาข้อมูลข่าวสารที่เราสนใจ 2.แชร์เรื่องราวต่างๆกับบุคคลอื่น
              3. สามารถสร้างรายได้เสริม เช่นทำเว็บขายของได้ 4. ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นในกรณีต่างๆหรืออยู่ไกลกัน
             5. สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ทางเน็ตได้
  6.ภัยจากอินเตอร์เน็ตได้แก่ 1. สื่อลามกอนาจาร  ส่งภาพหรือไฟล์ลามกผ่านทางอินเตอร์เน็ต
            2. การติดเกมส์ออนไลน์       3.  การแชท  สนทนาผ่านทางอินเตอร์เน็ต
    7.       เวิลด์ไวด์เว็บหมายถึง แหล่งข้อมูลขนาดยักษ์  สามารถให้บริการข้อมูลได้ทั้งรูปแบบข้อความ  ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  รวมทั้งวิดีโอ
   8.  รูปแบบของFTP แบ่งได้เป็น 2แบบ  ได้แก่  1.Download คือการคัดลอกข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์หรือจากคอมพิวเตอร์อื่นมายังเครื่องคอมพวเตอร์ของผู้ใช้ 2. Upload คือการคัดลอกข้อมูลในเครื่องของผู้ใช้ไปไว้ที่เซิร์ฟเวอร์หรือคอมพิวเตอร์อื่น
  9.    เว็บบราว์เซอร์  หมายถึง  โปรแกรมที่ใช้เปิดเว็บเพจ  หรือเรียกสั้นๆว่า บราว์เซอร์  มีหน้าที่ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์เพื่อขอข้อมูลที่ต้องการมาแสดงที่หน้าจอของโปรแกรม
10.  URL คือการเข้าถึงข้อมูลใดๆในอินเตอร์เน็ต  ตัวอย่างได้แก่ 
 1. http://www.google.com/shop/index.html  
 2. http://www.yahoo.com/nanmee/index.html 
 3. http://www.postjung.com/katai.index.html
ตอนที่ 2
1.”ไอพี่แอดเดรส”ในอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนข้อใด
 -----ค.เลขที่บ้าน
2.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ตรงกับข้อใด
 -----ข.เครื่องแม่ข่าย
3.ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต
 -----ข.ส่งพัสดุภัณฑ์
4.เวิลด์ไวด์เว็บเป็นแหล่งข้อมูลขนาดยักษ์จะพบข้อมูลประเภทใดบ้าง
 -----ง.ถูกหมดทุกข้อ
5.ชื่อที่อยู่ของ E-mail เรียกว่าอะไร
 -----ค.E-mail Address
6.FTP ย่อมาจากอะไร
-----ง.File TransferProtocol
7.ข้อใดคือความหมายของ FTP
 -----ค.การโอนย้ายข้อมูล
8.การคัดลองข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์มายังเครื่องผู้ใช้หมายถึงข้อใด
 -----ข.Download
9.การคัดลอกข้อมูลในเครื่องผู้ใช้ไปไว้ที่เซิร์ฟเวอร์หมายถึงข้อใด
 -----ก.Upload
10.ข้อใดหมายถึงการให้บริการแบบทางไกล
 -----ข.Remote
11.เว็บเพจหมายถึงข้อใด
 -----ข.ไฟล์1ไฟล์คือเว็บเพจ1หน้า
12.เว็บไซต์หมายถึงข้อใด
-----ก.กลุ่มของเว็บเพจหลายหน้า
13.โฮมเพจ หมายถึงข้อใด
  -----ค.เว็บเพจหน้าแรก
14.เว็บเซิร์ฟเวอร์ คือข้อใด
 -----ง.ทำหน้าที่เก็บเว็บไซต์
15.ข้อใดคือหน้าที่หลักของดปรแกรมเว็บบราวเซอร์
-----ง.ถูกทุกข้อ

ออกแบบและพัฒนาเว็บ

แบบฝึกหัดบทที่1
แบบฝึกหัดบทที่ 1 โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์(computer system)แบ่งออกเป็น 3 สวนหลักๆที่สำคัญ คือ
1.hardware(ตัวเครื่อง) ได้แก่
-จอภาพ
-คีย์บอร์ด
-cpu
-เมาส์
-สแกนเนอร์
-แทรกบอลล์
-จอยสติ๊ก
-ตัวขับจานแม่เหล็ก
-ตัวขับ ซีดี-รอม
-ไมโครโฟน
-กล้องวิดีโอ
-เครื่องอ่านรหัสแท่งหรือบาร์โค้ด
2.Software(โปรแกรม) แบ่งเป็น2 อย่างได้แก่
2.1 system software ได้แก่
-OS
-Utility
-Translation
-Diganostic
2.2 Application Software ประกอบด้วย 2 อย่าง ได้แก่
2.2.1 User programs (ผู้ใช้เขียนเอง) เช่น
-ภาษาC
-Visual Basic
- Pascal
-C++
- html
- Flash
2.2.2 package programs
-เกมส์
-windows
-MS-office
-photoshop
-photoscape
-คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI
3. People ware ได้แก่
- Programmer
- System Analysis
-เจ้าหน้าที่กราฟิกดีไซน์
- เจ้าหน้าที่สารสนเทส (IT support)
- Application Support
- เจ้าหน้าที่ Admin และ Project co.




การโปรแกรมคอมพิวเตอร์1

แบบฝึกหัดบทที่1


สรุป Photoshop Cs3
ส่วนประกอบของ  Photoshop CS3
Application Bar = แถบที่แสดงโปรแกรม Photoshop CS3
Menu Bar = เมนูบาร์เป็นแถบคำสั่งที่รวบรวมคำสั่งในการใช้งานของ Photoshop CS3 ไว้ทั้งหมด ซึ่งแต่ละกลุ่มคำสั่งมีความสำคัญ
Option Tools Palette = คุณสมบัติพิเศษของเครื่องมือ
Tools palette = แถบกล่องเครื่องมือ
Document Window = พื้นที่การทำงาน
Panel = แถบคุณสมบัติพิเศษ มี
-      วิธีการลบเลเยอร์ที่ไม่ต้องการทิ้งไปสามารถทำได้ เช่น คลิกเมนู Layer Delete หรือ ลากเลเยอร์ไปวางไว้ในทั้งขยะ
-      เปลี่ยนชื่อเลเยอร์ เป็นชื่อที่เราต้องการทำได้ เช่น กดดับเบิ้ลคลิกที่ Layer แล้วพิมพ์ชื่อกด Enter
Tools Palette = กล่องเครื่องมือหรือ Tools Palette มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงยาวภายในบรรจุเครื่องมือสำหรับสร้างงานกราฟิก แก้ไข และปรับแต่งภาพต่างๆ
กลุ่มเครื่องมือในแถบเครื่องมือ Tools Palette
Marquee Tool เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้เลือกพื้นที่ ในรูปทรงแบบเรขาคณิต มีรายละเอียดดังนี้
-      Rectangular Marquee Tool = เป็นการเลือกพื้นที่แบบสี่เหลี่ยม เพื่อนำไปใช้งาน
-      Elliptical Marquee Tool =  เป็นการเลือกพื้นที่แบบวงกลมเพื่อนำไปใช้งาน
-      Single Row Marquee Tool = เป็นการเลือกพื้นที่ในแนวนอนมีความกว้าง 1 พิกเซล
-      Single Column Marquee Tool = เป็นการเลือกพื้นที่ในแนวตั้งมีความกว้าง 1 พิกเซล
Lasso Tool เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้สร้าง Selection ในรูปแบบอิสระเหมาะกับงานเลือกพื้นที่ที่มีความละเอียดสูง เครื่องมือมีทั้งหมด 3 ชิ้น คือ
-      Lasso Tool ใช้สร้าง Selection ในรูปแบบอิสระซึ่งเหมาะสำหรับงานที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก การใช้งานให้คลิกเมาส์ลากกรอบพื้นที่ที่ต้องการ
-      Polygonal Lasso Tool ใช้สร้าง Selection แบบเส้นตรง ซึ่งเหมาะสำหรับเลือกรูปภาพที่มีรายละเอียดเป็นเส้นตรงหรือมุมฉาก
-      Magnetic Lasso Tool  ใช้สร้าง Selection ในรูปแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะเหมาะสำหรับภาพที่มีความแตกต่างของสี การใช้งานเพียงพอแต่ลากเมาส์ผ่านภาพโปรแกรม จะกำหนดส่วนที่เป็นโทนสีเดียวกันสร้างจุด Anchor ขึ้นมา
Magic Wand เป็นเครื่องมือที่สามารถสร้าง Selection แบบเฉพาะค่าสีคือโปรแกรมจะเลือกส่วนที่มีโทนสีใกล้เคียงกันเพื่อสร้าง Selection วิธีใช้งานเพียงนำเมาส์ไปคลิกบริเวณพื้นที่สีที่ต้องการเลือก
-     Tolerance เป็นการกำหนดค่าสีหรือเพิ่มจำนวนพิกเซลที่อยู่บนภาพ ก่อนการสร้าง Selectionมีค่าตั้งแต่ 0- 255 ระดับ ถ้ากำหนดค่ามากจะทำให้สามารถเลือกความกว้างของช่องค่าสีเพิ่มขึ้น
-     Anti-alias เป็นการกำหนดขอบของภาพให้เรียบ
-     Contiguous เป็นการเลือกพื้นที่ในส่วนที่มีค่าสีใกล้เคียง ในกรณีที่ไม่ใช้คำสั่งนี้สีที่ไม่ได้ใกล้เคียงกันไปด้วย
-      Sample All Layers เป็นการกำหนดพื้นที่สีจากเลเยอร์ทั้งหมด โดยเลือกพื้นที่เหมือนกับเป็นเลเยอร์เดียว กรณีไม่เลือกใช้คำสั่งโปรแกรมจะสร้าง Selection จากเลเยอร์ที่กำลังทำงานอยู่

สร้าง Selection ด้วย Quick Mask
     Quick Mask เป็นการสร้าง Selection อีกวิธีหนึ่ง ที่เหมาะกับรูปภาพที่มีความซับซ้อนหรือมีโทนสีใกล้เคียงกันจนไม่สามารถใช้เครื่องมืออื่นตัดพื้นที่ได้ Quick Mask จะใช้ร่วมกับ Brush Tool เพื่อใช้ระบายสีเลือกพื้นที่
การย่อภาพ
ไปคลิกที่ Image เลือก Image size = กำหนดขนาดของภาพ
การทำภาพซ้อนภาพเพื่อนำไปเป็น Background
เลือกรูปมาก่อนแล้ว Save ต่อไปเลือก เมนู Edit เลือก Define Pattern
แล้วเลือก เครื่องมือแถบ Tool bar กดคลิกขวาที่เครื่องมือ Clone Stamp Tool แล้วเลือก Pattern Stamp Tool
แล้วเลือกรูป Pattern บนแถบเมนูด้านบนที่เราได้ Saveไว้ แล้วนำมาระบายในภาพที่เราต้องการ

เทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัดบทที่1
1.จงอธิบายวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างละเอียด
ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Age) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (management Information System : MIS) มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

2.จงระบุองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย เทคโนโลยีที่สำคัญ 2 สาขาคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีทั้งสองสาขามีความสัมพันธ์กันดังนี้
1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามที่ผู้ใช้ต้องการอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกการจัดหา การวิเคราะห์เนื้อหา และการค้นคืนสารสนเทศ กระบวนการจัดทำสารสนเทศประกอบด้วยกรรมวิธี 3 ประการคือ การนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลข้อมูลกรรมวิธีทั้ง 3 ประการนี้ต้องอาศัย เทคโนโลยีด้านซอรฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์การรับข้อมูล และอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล
2.เทคโนโลยีโทรคมนาคม ช่วยให้การสื่อสารหรือการเผยแพร่สารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน ทันต่อเหตุการณ์ และสื่อได้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล(DATA) ที่เป็นตัวเลขหรือตัวอักษร ภาพ และเสียง โดยใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมสำหรับการสื่อสารหรือการเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์ โทรเลข วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ รวมทั้งเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วย


3.คุณลักษณะของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีมีอะไรบ้าง
                1.  ความเที่ยงตรง (Accuracy) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยไม่ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ดังนั้นประสิทธิผลของการตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับความถูกต้องหรือความเที่ยงตรง ย่อมส่งผลกระทบทำให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดตามไปด้วย 

               2. ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) นอกเหนือจากสารสนเทศขององค์การจะต้องมีความเที่ยงตรงหรือความถูกต้องแล้ว ยังจะต้องมีคุณสมบัติของการที่สามารถนำสารสนเทศมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการตัดสินใจ ทั้งนี้เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางการบริหารทั้งภายในและภายนอกองค์การมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสารสนเทศด้านการขาย การผลิต ตลอดจนด้านการเงิน ถ้าผู้บริหารได้รับมาล่าช้า ก็จะส่งผลกระทบต่อ        ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการตัดสินใจ หรือการดำเนินงานของผู้บริหารที่จะลดลงตามไปด้วย

               3.  ความสมบูรณ์ (Completeness) สารสนเทศขององค์การที่ดี จะต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยทำให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง การมีสารสนเทศที่มีปริมาณมาก ไม่ได้หมายถึงการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินงาน สารสนเทศที่มีมากเกินไปอาจเป็นสารสนเทศที่ไม่มีความสำคัญ เช่นเดียวกับการมีสารสนเทศที่มีปริมาณน้อยเกินไป ก็อาจทำให้ไม่ได้สารสนเทศที่สำคัญครบเพียงพอทุกด้านที่จะนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องรอให้มีสารสนเทศครบถ้วน 100 เปอร์เซ็นต์ก่อนจึงจะทำการตัดสินใจได้ เช่น จะตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราการใช้สินค้า ปริมาณสินค้าคงเหลือ ราคาต่อหน่วย แหล่งผู้ผลิตค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ระยะเวลารอคอยของสินค้าแต่ละชนิด ดังนั้นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงเหลือให้มีประสิทธิภาพ ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับสารสนเทศในทุกเรื่อง การขาดไปเพียงบางเรื่องจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจอย่างมากเป็นต้น จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ไม่ได้หมายความว่ามีสารสนเทศมากเฉพาะในบางด้าน ขณะที่สารสนเทศในบางด้านไม่มีหรือมีไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ แต่จะต้องได้รับสารสนเทศที่สำคัญครบในทุกด้านที่ทำการตัดสินใจ
              4.  การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ ดังนั้นในการที่องค์การจะออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การนั้น การสอบถามความต้องการของสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก เช่น สนเทศในการบริหารการผลิต การตลาด และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น

              5. ตรวจสอบได้ (Verifiability) สารสนเทศที่ดีควรมีคุณลักษณะที่สามารถจะตรวจสอบได้โดยเฉพาะแหล่งที่มา การจัดรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้การตัดสินใจได้เกิดความรอบครอบ การที่ผู้บริหารมองเห็นสารสนเทศบางเรื่องแล้วพบว่าทำไมจึงมีค่าที่ต่ำเกินไป หรือสูงเกินไป อาจต้องตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศที่ได้มา ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้การติดสินใจเกิดความผิดพลาด

4.จงบอกประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศมาอย่างน้อย5ข้อ
              1. ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น จากสิ่งอำนวยควม
                สะดวกต่าง ๆ
           2. ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และเกิดการกระจายโอกาส เช่นการใช้ระบบ
                การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ทำให้เด็กที่อยู่ในชนบทหรือเด็กที่อยู่ใน
                ถิ่นถุรกันดารมีโอกาสได้เรียนรู้เหมือนเด็กที่อยู่ในเมือง
           3. ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้นเช่นการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย
                สอน
           4. ทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น เช่นการรวบรวมข้อมูลเรื่อง 
                คุณภาพในแม่น้ำลำคลองต่างๆเพื่อนำมาตรวจวัดมลภาวะ แล้วดำเนินการแก้ไข 
                ปัญหา
           5. ทำให้เกิดระบบป้องกันประเทศที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้คอมพิวเตอร์
               มาควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆหรือระบบป้องกันภัยต่าง ๆ เป็นต้น
5. จงบอกภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศความความเข้าใจ
ตอบ        อันตรายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวเข้ามาในชีวิตประจำของมนุษย์มากขึ้น ทั้งในระดับบุคคลจนถึงองค์กร และระดับชาติ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันดีเกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่สิ่งใดก็ตามไม่ใช่มีเฉพาะด้านดีเพียงด้านเดียว เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เช่นกัน ย่อมมีผลกระทบต่อมนุษย์และองค์กรในด้านร้ายได้เช่นกัน โดยส่วนมากอันตรายจากไอที มักจะเกี่ยวข้องกับ
                การขัดขวางการใช้ไอทีในเวลาที่ต้องการใช้งาน
                การลิดรอนระบบ
สารสนเทศ
                การสร้าง/ส่งข้อมูลลวง
                การล้วงข้อมูลมาใช้งาน
ซึ่งอันตรายดังกล่าวมีผลกระทบได้ตั้งแต่ระดับเล็ก จนถึงระดับชาติได้ ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวสามารถกระทำได้ทั้งจากระดับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบการติดต่อสื่อสาร และบุคคลภายในองค์กรนั้นๆ โดยสามารถสรุปรูปแบบการก่อเหตุให้เกิดอันตรายได้ดังนี้
ผู้ใช้เถื่อน - ได้แก่ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงและใช้งานระบบ แต่อาศัยความสามารถพิเศษทางด้าน
เทคโนโลยีทำการเจาะระบบป้องกันต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลักลอบล้วงข้อมูล ทั้งที่เป็นความลับและไม่ใช่ความลับ และอาจจะก่อความเสียหายให้กับข้อมูลทั้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูล จนถึงการลบข้อมูล และการทำลายระบบ
ผู้ใช้ภายในระบบ - ได้แก่ผู้ใช้ที่มีสิทธิในระดับ แต่เป็นสายหรือทำตัวเป็นผู้ก่อการร้ายเสียเอง

6. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
ตอบ        จากงานวิจัยของ Whittaker (1999: 23) พบว่า ปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่
                1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่งองค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น
                2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์การจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่ หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์การแล้วจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
                3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำเป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ
                สำหรับสาเหตุของความล้มเหลวอื่น ๆ ที่พบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule overruns), นำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือยังไม่ผ่านการพิสูจน์มาใช้งาน (New or unproven technology), ประเมินแผนความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ถูกต้อง, ผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vendor) ที่องค์การซื้อมาใช้งานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรับผิดชอบ และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปี

                นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
                1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาทและความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดน้อยลง จนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากไม่มั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ จนเกิดสภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ

ระบบฐานข้อมูล

แบบฝึกหัดที่1
แบบฝึกหัดบทที่ 1
ฐานข้อมูล Database
หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน  และนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน
ระบบฐานข้อมูล Database System
หมายถึง  ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มี
  ความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกับรูปแบบเป็นระเบียบแบบแผน และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน
ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) Database Management System
  หมายถึง  โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะ ข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่ออำนวยความ             
  สะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล


วันที่ 6 มิถุนายน 2554
สรุปหน่วยการเรียนรู้ที่ 1
***ความหมายของฐานข้อมูล (Database)
ฐานข้อมูล
หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน  
ระบบฐานข้อมูล
 หมายถึง  ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกัน
รูปแบบเป็นระเบียบแบบแผน และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน
ระบบจัดการฐานข้อมูล
หมายถึง  โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะ ข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่ออำนวยความ             
 สะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล   
ประโยชน์ของฐานข้อมูล
ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล 
ความสอดคล้องของข้อมูล
ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น 
มีการใช้ข้อมูลร่วมกันได้  
เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล 
ขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน
ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย
ข้อเสียของฐานข้อมูล
1.    เสียค่าใช้จ่ายสูง โปรแกรมที่ใช้ในระบบจัดการฐานข้อมูล มีราคาค่อนข้างแพงเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีความเร็วสูง  
2. เกิดการสูญเสียข้อมูลได้ ข้อมูลจัดเก็บในที่เดียวกัน  ถ้าที่เก็บข้อมูลเกิดมีปัญหา อาจทำให้ต้องสูญเสียข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลได้ ดังนั้นการจัดทำฐานข้อมูลที่ดี ต้องมีการสำรองข้อมูลไว้เสมอ

หลักการออกแบบฐานข้อมูล
วัตถุประสงค์ในการสร้างระบบฐานข้อมูล
ต้องการใช้เพื่อทำอะไร และต้องการอะไรบ้างจากระบบนี
ถามความต้องการของผู้ใช้ ต้องการข้อมูลอะไรเข้าสู่ระบบ และผลลัพธ์ต้องการอะไรบ้าง
วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด   
จัดกลุ่มข้อมูลที่ต้องการเก็บให้อยู่ในรูปแบบตาราง
วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละตาราง กำหนดเขตข้อมูลให้ครบถ้วน

ระดับหน่วยของข้อมูล
บิท (Bit)  หมายถึง  หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
ไบท์ (Byte) หมายถึง เกิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักษร
เขตข้อมูล หรือ ฟิลด์ (Field) หรือ แอตทริบิวต์ (Attribute)
หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบด้วยหลาย ๆ ตัวอักษร
ระเบียน หรือ เรคอร์ด (Record)  หมายถึง
หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน
แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำระเบียนหรือเอนทิตี้หลาย ๆ ระเบียนมารวมกันเป็น


ตอนที่1

1.ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คืออะไร
ข.ตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล

2.หลังจากที่สร้างฐานข้อมูลแล้ว จะต้องสร้างออบเจ็กต์ใดเป็นอันดับแรก
ก.Table
3.ออบเจ็กต์ใดที่ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลทั้งหมดลงฐานข้อมูล
ค.Form
4.ออบเจ็กต์ Query มีหน้าที่ทำอะไร
ค.สร้างแบบสอบถามข้อมูล

5.ข้อใดต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของออบเจ็กต์ Form
ข.เก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล

6.ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ กฏของการ Normalization
ข.จะต้องมีความสัมพันธ์แบบเชิงกลุ่ม(Many to Many)
7.ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ที่ได้รับของระบบฐานข้อมูล
ค.ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย

8.ขั้นตอนใดต่อไปนี้เป็นขั้นตอนแรกในการออกแบบฐานข้อมูล
ก.กำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

9.ส่วนประกอบต่อไปนี้เพิ่มเข้ามาใหม่ใน Access 2007 ยกเว้น ข้อใด
ง.Ribbon
10.ข้อใดต่อไปนี้ กล่าวผิด
ก.เมื่อบันทึกฐานข้อมูลในAccsee 2007จะมีนามสกุลเป็น.accdb
ตอนที่ 2
1.DBMS                             à  ช.ระบบจักการฐานข้อมูล
2.Normlization                 à   จ.กฎที่ใช้ในการออกแบบตาราง
3.Office  Botton                à    ซ.ปุ่มที่รวบรวมชุดคำสั่งในการจัดการฐานข้อมูล
4.Quick Access Toolbar    à   ญ.แถบเครื่องมือที่รวบรวมเครื่องมือที่ใช้งานบ่อยๆ
5.Ribbon   à  ฌ.ส่วนการทำงานใหม่ที่เข้ามาแทนที่แถบเมนูและแถบเคื่องมือ
6.Navigation Pane   à   ก.แถบในการแสดงออบเจ็กต์ที่สร้างขึ้น
7.Document Window   à   ค.ส่วนของพื้นที่การทำงานของออบเจ็กต์ต่างๆ
8.Query   à    ข.แบบสอบถามข้อมูล
9.Macro   à    ง.ชุดคำสั่งกระทำการต่างๆ ที่นำมารวมกัน
10.Module   à   ฉ .โปรแกรมย่อยที่เขียนขึ้นภาษา VBA

ตอนที่ 3
1.จงอธิบายถึงความหมายของฐานข้อมูล
***ฐานข้อมูล คือข้อมูลจำนวนมากที่มีการจัดเก็บไว้ต่างเป็นระเบียนในลักษณะของตารางข้อมูลแต่ละตารางที่มีอยู่นั้นมีความสัมพันธ์กัน
2.ระบบฐานข้อมูลมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
***1. ลดความซับซ้อนของข้อมูล
2. ทำให้เกิดความสอดคล้องข้อมูล
3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
4. มีความปลอดภัย
3.ใน Microsoft Access 2007 ประกอบไปด้วยออบเจ็กต์อะไรบ้าง และมีหน้าที่อย่างไร
***1. Table ใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งหมด
2. Queries ช่วยค้นหาหรือสร้างแบบสอบถามข้อมูล
3. Froms แบบฟอร์มในการทำงาน สำหรับจัดการกับข้อมูลแทนการจัดการในตาราง
4. Reports ใช้ในการสร้างรายงาน
5. Modules ช่วยให้ทำงานกับข้อมูลที่ซับซ้อนมากขึ้นได้
4.จงอธิบายหลักการออกแบบฐานข้อมูลมาพอเข้าใจ
*** กำหนดวัตถุประสงค์ว่าต้องใช้ข้อมูลเรื่องใด ใช้เพื่อทำอะไร ต้องการอะไร สอบถามความต้องการจากผู้ใช้ วิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นจัดกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละตาราง วิเคราะห์โครงสร้างข้อมูล กำหนดชนิดข้อมูล กำหนดความสัมพันธ์
5.จงยกตัวอย่างระบบงานที่ควรนำ ระบบฐานข้อมูลมาใช้จงอธิบายเหตุผล
***ข้อมูลพนักงาน มีพนักงานในบริษัทแต่ล่ะบริษัทมีพนักงานไม่ต่ำกว่า500คนเราจิงต้องเอา ระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการจัดเรียงรายชื่อพนักงาน เช่น ตามตัวอักษร ตามตำแหน่งงาน ตามเงินเดือน เป็นต้น

แบบฝึกหัดบทที่ 4 การสร้างฟอร์ม (Form)
1. ความหมายของฟอร์ม (Form)
     ตอบ
 คือ  หน้าจอสำหรับติดต่อกับผู้ใช้งาน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อนช่วยให้ผู้ใช้ทำงานกับข้อมูลในตารางได้สะดวกกว่าการใช้มุมมองแผ่นตารางข้อมูล (Datasheet View) และยังช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับแอปพลิเคชั่นที่ได้สร้างขึ้นมาอีก
2. ประเภทของฟอร์มมีกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ    มี 5 แบบ   คือ 
1.ฟอร์มแบบคอลัมน์ (Columnar Form) หรือฟอร์มเดี่ยว ซึ่งเป็นฟอร์มที่แสดงข้อมูล หนึ่งเรดคอร์ดต่อหนึ่งหน้าของฟอร์ม
2.ฟอร์มแบบตาราง(Tabular Form) เป็นฟอร์มที่แสดงข้อมูลทุกเรดคอร์ด
3.ฟอร์มแบบแผ่นตารางข้อมูล (Datasheet Form) เป็นฟอร์มที่แสดงทุกเรดคอร์ดในลักษณะแผ่นตาราง เช่นเดียวกับตาราง (Table)
4.ฟอร์มแบบตารางสรุปข้อมูลหลายมิติ(Pivot Table Form) เป็นฟอร์มที่ใช้แสดงข้อมูลหลายมิติหรือหลายฟิลด์ ทำให้สามารถดูข้อมูลได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
5.ฟอร์มแบบแผนภูมิสรุปข้อมูลหลายมิติ(Pivot Chart Form) เป็นฟอร์มที่ใช้แสดงข้อมูลในลักษณะแผนภูมิ ซึ่งสามารถดูข้อมูลได้หลายฟิลด์ที่ต้องการ
3. มุมมองของฟอร์มมีกี่มุมมอง อะไรบ้าง
      ตอบ      3 มุมมอง คือ
1.มุมมองเค้าโครง (Layout View) เป็นมุมมองใหม่ที่เพิ่มเข้ามาใน Access 2007 ซึ่งคล้ายกับมุมมองการออกแบบตรงที่สามารถจัดรูปแบบของฟอร์มได้ในบางส่วน เช่น การกำหนดสี ปรับขนาดอักษร ปรับขนาดฟิลด์ เป็นต้น แต่แสดงข้อมูลคล้ายในมุมมองฟอร์ม
2.มุมมองการออกแบบ (Design View) เป็นมุมมองสำหรับสร้างและออกแบบฟอร์ม
3.มุมมองฟอร์ม (Form View) เป็นมุมมองในการแสดงผลข้อมูลและใช้งานฟอร์ม ซึ่งไม่สามารถแก้ไขฟอร์มได้
4. เครื่องมือที่ใช้ในการจัดรูปแบบฟอร์มมีอะไรบ้าง   
      ตอบ    10 รูปแบบ คือ
        1. ปุ่ม Form (ฟอร์มแบบคอลัมน์) เป็นคำสั่งแสดงข้อมูลทีละ 1 เรคคอร์ด
        2. ปุ่ม Split Form (ฟอร์มแยก) สามารถเห็น 2 มุมมองในเวลาเดียวกัน คื
            อมุมมองฟอร์มและมุมมองแผ่นตารางข้อมูล แสดงรายการของเรคคอร์ดทั้งหมด
        3. ปุ่ม Multiple Items (หลายรายการ) สร้างฟอร์มแบบตาราง
        4. ปุ่ม PivotChart เป็นการสร้างแผนภูมิ เพื่อสรุปผลข้อมูลแบบหลายมิติ
        5. ปุ่ม From Wizard (ฟอร์มเพิ่มเติม--
>ตัวช่วยสร้างฟอร์ม) ใช้เครื่องมือช่วยสร้าง

       ตอนที่ 3 แบบอัตนัย
1. การสร้างรายงานมีกี่แบบ อะไรบ้าง และแต่ละแบบมีประโยชน์อย่างไร
     ตอบ   มี 3 แบบ คือ
         1. รายงานแบบคอลัมน์ (Columnar Report) เรียงฟิลด์แต่ละเรคคอร์ดจากบนลงล่างทีละ 1 เรคคอร์ด
   2. รายงานแบบตาราง (Tabular Report) แสดงแบบแถวและคอลัมน์ แสดงข้อมูลทุกเรคคอร์ดใน 1 หน้ารายงาน
      โดยเรียงจากซ้ายไปทางขวาของรายงาน
   3. รายงานแบบป้ายชื่อ (Label Report) สำหรับพิมพ์ป้ายฉลากต่าง ๆ เช่น ฉลากติดซองจดหมาย เป็นต้น
2.  จงบอกถึงส่วนประกอบของรายงาน และแต่ละส่วนมีหน้าที่อะไร
      ตอบ    1.  Report Header คือ พื้นที่ในส่วนหัวของรายงาน เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความหรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในหน้าแรกของรายงานเท่านั้น เช่น โลโก้ของรายงาน แสดงชื่อรายงาน เป็นต้น
      2.Page Header คือ พื้นที่ในส่วนหัวของหน้ากระดาษ เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความหรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในทุกๆหน้าของรายงาน เช่น แสดงชื่อกำกับฟิลด์(รายงานแบบตาราง) แสดงเลขหน้าเป็นต้น
      3. Detail คือ พื้นที่ในการแสดงข้อมูลที่ดึงมาจากฐานข้อมูล ทั้งในตารางและในแบบสอบถามข้อมูล
      4. Page Footer คือ พื้นที่ในส่วนท้ายของกระดาษ เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความ
 หรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในทุกๆหน้าของรายงาน เช่น แสดงเลขหน้า เป็นต้น
       5. Report Footer คือ พื้นที่ในส่วนท้ายของรายงาน เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงข้อความหรือรายละเอียดที่ต้องการแสดงในหน้าสุดท้ายของรายงานเท่านั้น เช่น แสดงผลการคำนวณ แสดงวันที่จัดพิมพ์ เป็นต้น
        3.  จงอธิบายขั้นตอนการสร้างรายงานแบบ Report Wizard
             ตอบ    1. คลิกที่แท็บ Create
  2.คลิกเลือก Report Wizard ในกลุ่มของ Reports
  3.เลือกตารางหรือแบบสอบถามข้อมูลที่ต้องการนำมาสร้างรายงาน
 4.คลิกเลือกฟิลด์ที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม > เพื่อเลือกทีละฟิลด์ หรือคลิกปุ่ม >> เพื่อนเลือกฟิลด์ทั้งหมด
 5.แล้วคลิกปุ่ม Next>
 6.เลือกข้อมูลที่ต้องการแสดงรายละเอียด
 7.แล้วคลิกปุ่ม Next>
 8.เลือกฟิลด์ที่ต้องการ แบ่งกลุ่มข้อมูล แล้วคลิกที่ปุ่ม >เพื่อเลือกฟิลด์
 9.แล้วคลิกปุ่ม Next>
 10.เลือกฟิลด์ที่ต้องการเรียงลำดับ ถ้าต้องการเรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามากให้คลิกที่ปุ่ม Ascendingและคลิกที่ปุ่มDescending  ถ้าต้องการเรียนจากมากไปหาน้อย
 11.แล้วคลิกปุ่ม Next>
 12. เลือกรูปแบบตำแหน่งการจัดวางรายงานที่ Layoutและที่Orientationเลือกแนวกระดาษเลือก Portraitสำหรับแนวตั้งและ Landscape สำหรับแนวนอน
 13.แล้วคลิกปุ่ม Next>
 14.เลือกสไตล์หรือรูปแบบรายงานที่ต้องการ
 15.แล้วคลิกปุ่ม Next>
 16.ตั้งชื่อรายงานที่ต้องการ และเลือกการแสดงผลรายงานในมุมมองตัวอย่างก่อนพิมพ์หรือมุมมองในการแก้ไขรายงาน
 17.แล้วคลิกปุ่ม Finish
       4.อธิบายขั้นตอนการสร้างรายงานแบบ Label Wizard
     ตอบ  1. คลิกที่แท็บ Create
2.เลือกตารางหรือแบบสอบถามข้อมูลที่ต้องการนำมาสร้างเลเบล
3.คลิกที่ปุ่ม Labelsในกลุ่มของ Reports จากนั้นจะแสดงหน้าจอให้เลือกขนาดของเลเบล
4.เลือกขนาดของแถบที่ต้องการ ซึ่งถ้าหารต้องการกำหนดขนาดของเลเบลใหม่ให้คลิกที่ปุ่ม Customize แล้วกำหนดขนาดใหม่
5.แล้วคลิกปุ่ม Next>
6.กำหนดรูปแบบที่ต้องการแสดง
7.แล้วคลิกปุ่ม Next>
8.คลิกเลือกฟิลด์ที่ต้องการแสดงในเลเบล โดยคลิกปุ่ม > เพื่อเลือกข้อมูล ซึ่งถ้าหากต้องการเว้นวรรคในแต่ละฟิลด์ ให้กดปุ่ม Spacebar ที่แป้นพิมพ์ และถ้าต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ก็สามารถกดปุ่ม Enterได้
9.แล้วคลิกปุ่ม Next>
10.เลือกฟิลด์ที่ต้องการเรียงลำดับข้อมูลใน เลเบล โดยคลิกปุ่ม > เพื่อเลือกฟิลด์ข้อมูล
11.แล้วคลิกปุ่ม Next>
12.ตั้งชื่อรายงานและเลือกการแสดงผล เลเบล ในมุมมองตัวอย่างก่อนพิมพ์หรือมุมมองในการแก้ไขเลเบล
13.แล้วคลิกปุ่ม Finish
5.จงบอกถึงข้อดีและข้อเสียของรายงานแบบอัตโนมัติ
ตอบ          ข้อดี                                        ข้อเสีย
      -สะดวกรวดเร็ว     - ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลในตารางได้ในขณะที่พิมพ์ออกมาได้แบบฟอร์
     -สามารถคำนวณข้อมูลได้
     -สามารถพิมพ์ออกมาได้
26/06/54
ตอนที่ 1 
1.ข้อใดกล่าวถึงความหมายของตาราง (Table) ได้ชัดเจนที่สุด
ตอบ     . ฐานข้อมูลใน Access
2.ข้อใดต่อไปนี้ กล่าวผิด
ตอบ   . Attachment เป็นชนิดข้อมูลสาหรับสร้างจุดเชื่อมโยงไปยังไฟล์
3.ฟิลด์ (Field) หมายถึงอะไร
ตอบ  . คอลัมน์
4.เรคอร์ด (Record) หมายถึงอะไร
ตอบ   . แถว
5.ชนิดข้อมูลแบบข้อความ (Text) สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุดกี่ตัวอักษร
ตอบ    ค. 255
6.ถ้าต้องการกำหนดฟิลด์ในการเก็บข้อความจำนวนมากๆ จะต้องเลือกชนิดข้อมูลแบบใด
ตอบ   . Memo
7.มุมมองที่ใช้ในการสร้างตารางด้วยการออกแบบเองคือมุมมองใด
ตอบ  . Design View
8.ชนิดความสัมพันธ์ของตารางมีกี่แบบ
ตอบ     ค. 255
9.ข้อใดต่อไปนี้ ไม่สามารถ นามาประกอบในการตั้งชื่อฟิลด์ข้อมูลได้
ตอบ    . 4 แบบ
10.ถ้าต้องการเรียงลาดับข้อมูลในตารางจากน้อยไปหามาก จะต้องใช้เครื่องมือใด
ตอบ  . Ascending

ตอนที่ 2   
1. Field           #         . ข้อมูลในแนวคอลัมน์
2. Record         #       . ข้อมูลในแนวแถว
3. Memo             #     . เก็บข้อมูลประเภทข้อความที่มีความยาวมาก ๆ
4. OLE Object     #   . เก็บข้อมูลประเภทรูปภาพ
5. Currency          #    . เก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลขทางการเงิน
6. Attachment      #  . เก็บเอกสารและแฟ้มไบนารี่ทุกชนิดในฐานข้อมูล
7. Input Mask       #    . กำหนดรูปแบบในการป้อนข้อมูล
8. Format             #    . กำหนดรูปแบบการแสดงข้อมูล
9. Descending    #     . เรียงลาดับข้อมูลจากมากไปหาน้อย
10. Ascending    #     . เรียงลาดับข้อมูลจากน้อยไปหามาก